บทความ

ทำโป่งเทียม(Artificial Salt Licks)ในป่าเขาแผงม้า

รูปภาพ
  ทำโป่งเทียม(Artificial Salt Licks)ในป่าเขาแผงม้า  ในป่าเขาแผงม้ามีสัตว์กินพืชอยู่หลายชนิดครับ แต่ในพื้นที่จริงๆไม่มีดินโป่งสำหรับให้สัตว์พวกนี้ได้กินหรืออาจมีแต่จะต้องเดินทางลึกเข้าไปในป่าเขาใหญ่ จึงมีความจำเป็นที่จะสร้างแหล่งโป่ง เสริมธาตุอาหารให้แก่สัตว์กินพืชทั้งหมดที่มีอยู่และอาศัยหากินในพื้นที่ป่าเขาแผงม้า โป่ง  (Mineral licks หรือ Salt licks) คือบริเวณพื้นที่ที่มีแร่ธาตุต่างๆมารวมกัน เกิดจากฝนที่ตกลงมาชะล้างนำเอาแร่ธาตุออกมาจากดินไปรวมกันไว้ที่บริเวณเดียวและแร่ธาตุเหล่านั้นเป็นที่ต้องการและจำเป็นของสัตว์กินพืช บริเวณนี้จึงเรียกว่าโป่ง โป่งมี 2 ประเภทคือ โป่งดินและโป่งน้ำ ส่วนแร่ธาตุอาหารได้แก่ แคลเซี่ยม และฟอสฟอรัสที่มีความจำเป็นต่อร่างกายของสัตว์ แต่สัตว์กินพืชจะไม่ได้รับสารเหล่านี้ต้องหาขุดกินตามโป่ง โป่งดิน ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณริมลำห้วย เมื่อสัตว์เข้ามากินจะเริ่มกินจากผิวดินก่อนแล้วค่อยตีวงกว้างและลึกเข้าไป จนบริเวณนั้นหมดแร่ธาตุอาหาร สัตว์ก็จะทิ้งไปหาที่แหล่งใหม่ ส่วนใหญ่พบโป่งดินในป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง  สัตว์ที่เข้ามากินดินโป่งเช่น ช้าง กระทิง เก้ง กวาง หมูป่า ค่าง โป่ง

กิ้งก่าบินปีกสีส้ม(Spotted flying dragon, Orange-winged flying lizard)

รูปภาพ
 กิ้งก่าบินปีกสีส้ม(Spotted flying dragon, Orange-winged flying lizard) นอกเหนือจากสัตว์เสี้ยงลูกด้วยนม สัตว์นักล่าและสัตว์สัตว์ปีกในป่าเขาแผงม้าแล้ว ยังมีสัตว์เลื้อยคลานเล็กๆอีกหลายชนิด ในช่วงกลางฤดูฝนจะได้เห็น กะปอมปีก หรือกิ้งก่าบินปีกสีส้มตัวเล็กๆที่แอบซ่อนตัวอยู่ตามเปลือกของต้นไม้ มันซุ่มซ่อนอำพรางตัวเพื่อคอยจับเหยื่อนิ่งๆ หากมีมด แมลงเข้ามาใกล้ มันจะใช้ลิ้นตวัดกินเหยื่ออย่างรวดเร็วทันที กิ้งก่าบินปีกสีส้มเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในป่าเขาแผงม้า บริเวณโรงครัวบ้านพักเจ้าหน้าที่บนเขา ช่วงสายๆหน่อยพอมีแดด กิ้งก่าบินก็จะเริ่มขยับตัวออกจากพุ่มไม้ บินไปมาและไต่หากินตามลำต้น ส่วนใหญ่จะหากินอยู่ตัวเดียว ผมเคยนั่งสังเกตุดูครั้งหนึ่ง มันจะเกาะต้นไม้นิ่งๆตามเส้นทางที่มดดำไต่ไปตามเปลือกของต้นไม้ เมื่อได้จังหวะพอดีกับลิ้นของมัน มันจะตวัดเข้าปากทันที พฤติกรรมอีกอย่างของมันเมื่อตัวอื่นเข้ามาใกล้ มันจะขยายแผ่นหนังใต้คอของมันออกมาเป็นรูปยาวรี สีส้ม เพื่อข่มขู่ศรัตรู ระหว่างช่วงเที่ยงถึงบ่ายเมื่อมีแดดส่องถึงต้นไม้ที่มันอยู่ มันจะแผ่แผ่นหนังด้านข้างลำตัวสีส้มทั้งสองด้านออกมาผึ่งแดด เพื่อปรับอุณภูมิ

10 อันดับนกที่พบในป่าเขาแผงม้า อันดับที่ 10 เหยี่ยวแมงปอขาแดง (Microhierax caerulescens)

รูปภาพ
 อันดับที่ 10 เหยี่ยวแมงปอขาแดง( Microhierax caerulescens ) เหยี่ยวแมงปอขาแดงถือว่าเป็นนกชนิดหนึ่งที่หาตัวดูได้ยากมากในป่าเขาแผงม้า เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าทึบ จะมีโอกาสได้เห็นบ้างตามพื้นที่โล่งเลาะขอบแนวเขตฯป่า เนื่องจากนกชนิดนี้เป็นสัตว์นักล่า พื้นที่หากินเมื่อออกล่าส่วนใหญ่จะเป็นที่โล่ง มองเห็นเหยื่อในระยะไกลได้ดี โอกาสจู่โจมเหยื่อมันจะรวดเร็วและแม่นยำ ช่วงบ่ายของวันหนึ่งในขณะที่ผมเดินหาดูกระทิงบริเวณเนินฮาเร็ม มองไปตามแนวป่าและที่ลานหญ้าที่โล่งอยู่นาน ก็ยังไม่พบตัวกระทิง รู้สึกเซ็งๆ จึงหันซ้ายหันขวาและมองขึ้นไปตามยอดไม้ เมื่อเจอต้นไม้แห้งตายเดี่ยวๆ สายตาก็ไปกระทบกับสิ่งเล็กๆที่กำลังเคลื่อนไหว มันมีนกเกาะอยู่และมีเศษสิ่งของบางอย่างปริว ออกมาเป็นระยะ เมื่อใช้กล้องส่องสองตาดูจึงพบว่าเป็นนกที่กำลังกินเหยื่ออยู่ กล้องสองตายังจับจ้องอยู่ที่ตัวนกดูรูปร่างแล้วจึงรู้ว่ามันคือเหยี่ยวแมงปอขาแดงและเป็นจังหวะเวลาพอดีที่มันล่าเหยื่อได้ เป็นเหยี่ยวขนาดเล็กและมันกำลังใช้ปากถอนขนของนกกระจิบผู้โชคร้าย ก่อนที่จะฉีกกินอย่างอะเหร็ด อะหร่อย มันเป็นภาพที่โหดร้ายสยดสยองสำหรับคนที่เห็นในขณะนั้น แต่ม

10 อันดับนกที่พบในป่าเขาแผงม้า อันดับที่ 9 เหยี่ยวรุ้ง(Crested Serpent Eagle)

รูปภาพ
 อันดับที่ 9 เหยี่ยวรุ้ง(Crested Serpent Eagle) เหยี่ยวรุ้งเป็นนักล่าที่ชอบจับงูเป็นอาหาร มีอยู่ครั้งหนึ่งผมเคยเห็นเหยี่ยวรุ้งจับงูทางมะพร้าวตัวใหญ่ แต่มันทำงานพลาด โดนงูรัดกลับ มันไม่สามารถนำงูขึ้นไปกินบนต้นไม้ได้ สุดท้ายมันโดนงูรัดจนตายครับ กลับมาที่ป่าเขาแผงม้าครับ จากการเดินสำรวจพื้นที่จะพบเหยี่ยวรุ้งได้ทั่วไปในป่าแห่งนี้ครับ ส่วนใหญ่มันจะอยู่เดี่ยวๆ บางครั้งก็ได้ยินเสียงร้อง หรือบางครั้งก็เห็นได้ในระยะใกล้บนเส้นทางขึ้นเขาไปสำนักงานเดิมแถวป้ายกองมณี ส่วนพื้นที่จะเห็นตัวได้ที่สุดคือบนเขา หน้าสำนักงานเดิมและจุดชมวิวบ้านช้างป่าซึ่งเป็นที่โล่ง บางครั้งมันจะร่อนอยู่ในระดับสายตาและไม่ต้องใช้กล้องส่องให้เมื่อยลูกตา  เหยี่ยวรุ้งเป็นนกล่าเหยื่อขนาดกลาง ขนาดลำตัวยาวประมาณ 51-71 เซนติเมตร มีแผ่นหนังสีเหลืองสดใสบริเวณโคนปากไปจนถึงดวงตา ขนบริเวณท้ายทอยค่อนข้างยาวคล้ายมีขนหงอนที่หัว ซึ่งมีลักษณะคล้ายพัดเป็นสีดำลายซีดสีขาว ที่เมื่อเวลาโกรธหรือขู่คู่ต่อสู้ให้กลัวจะแผ่ออก ลำตัวด้านบนเป็นสีน้ำตาลเข้ม โดยเฉพาะที่ปีกจะมีจุดสีขาวกระจายอยู่ ลำตัวด้านล่างเป็นสีน้ำตาลและมีลายจุดสีขาวกระจายอยู่ทั่วไป ตัวที

10 อันดับนกที่พบในป่าเขาแผงม้า อันดับที่ 8 นกพญาปากกว้างหางยาว(Long-tailed Broadbill)

รูปภาพ
  อันดับที่ 8 นกพญาปากกว้างหางยาว(Long-tailed Broadbill) ในป่าเขาแผงม้าโซนด้านทิศใต้ติดแนวเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ สภาพเป็นป่าดิบผสมกับป่าปลูก ในช่วงต้นฤดูฝน จะมีต้นไม้บางชนิดผลัดใบและมีหนอนผีเสื้อมากมาย จึงได้พบกับนกพญาปากกว้างหางยาวหรือที่เรียกกันว่านกการ์ตูนออกมากินตัวหนอนกันเป็นฝูงครับ นกพญาปากกว้างหางยาวจัดว่าเป็นที่สวยงามชนิดหนึ่งสีสันบนเรือนร่างส่วนใหญ่จะเป็นสีเขียว มีสีเหลืองตั้งแต่คอและใบหน้า ส่วนหัวดำคล้ายใส่หมวกกันน็อคมีแต้มเหลืองข้างท้ายทอย ส่วนหางยาวและปลายปีกเป็นสีฟ้าสด เสียงร้องแหลมสูง ซิป ซิป ซิป ห้าถึงแปดครั้ง เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้และตัวเมียจะจับคู่กันสร้างรังวางไข่ ทำรังลักษณะห้อยลงมาด้วยใยแมงมุมและกิ่งไม้เล็กๆ เป็นรังแบบหยาบๆ คล้ายรังนกกระจาบ นกพญาปากกว้างหางยาวเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2562  ถ้าหากท่านใดที่สนใจเข้ามาดูนก ก็สามารถเดินทางเข้ามาได้ตามช่วงวันเวลาข้างต้นครับหรือต้องการดูรายละเอียดการเดินทางเพิ่มเติม คลิกที่นี่ เพื่ิอเปิดลิ้งครับ