10 อันดับนกที่พบในป่าเขาแผงม้า อันดับที่ 1 นกแขกเต้า(Red-breasted Parakeet)
อันดับที่ 1 นกแขกเต้า(Red-breasted Parakeet)
เป็นครั้งแรกที่ผมได้เจอกับนกแขกเต้า เมื่อเดินทางมาที่ป่าเขาแผงม้า ยังไม่ทันเข้าถึงป่าก็ได้พบตัวมันในหมู่บ้าน เสียงร้องแค๊ก แค๊ก ดังมาเป็นระยะและวนไปวนมา บางครั้งก็มาตัวเดียว บางครั้งก็มาเป็นฝูงใหญ่เป็นร้อย จึงได้สอบถามชาวบ้านทราบว่ามันชื่อนกแขกเต้า และยิ่งไปกว่านั้นมันมากินข้าวโพดของชาวบ้านแถบนี้ ซึ่งชาวบ้านเองมีอาชีพหลักทำไร่ข้าวโพด รวมกันแล้วเป็นหมื่นไร่ ทั้งที่ติดเขตแนวป่าและห่างออกไป ชาวบ้านแถวนี้จึงเป็นศัตรูกับนกแขกเต้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ถ้าถามว่านอกเหนือจากข้าวโพดของชาวบ้านแล้วมีอะไรให้มันกินอีก ผลไม้และเมล็ดไม้ในป่าเขาแผงม้ายังมีมากครับ อย่างลูกของปอหูช้างมีและลูกไม้อื่นๆอีกจำนวนมากทุกช่วงฤดูกาล
ุจุดที่สามารถพบเห็นนกแขกเต้าใด้ง่ายเป็นแนวเขตใกล้ไร่ข้าวโพด ต้นไม้สูงครับ ช่วงต้นหนาวจะเห็นพวกมันรวมฝูงกันบินร่อนไปมาเป็นฝูงใหญ่สี่ห้าร้อยตัวครับ
นกแขกเต้าเป็นหนึ่งในนกแก้วที่พบทั้งหมด ๗ ชนิด ในประเทศไทย เป็นนกประจำถิ่นที่
พบได้ทุกภาคของประเทศไทยยกเว้นเฉพาะภาคใต้เท่านั้น
ลักษณะทั่วไป
นกชนิดนี้เป็นนกแก้วขนาดกลาง มีความยาวลำตัวประมาณ ๓๕ ซ.ม. รูปร่างค่อนข้าง
เพรียว หัวใหญ่ คอสั้น หางยาวแหลม ขนปกคลุมลำตัวสีสันสดใส มีปีกแคบและปลายปีกแหลม
หางยาวโดยขนคู่ในสุดจะยาวมาก ขาและเท้าแข็งแรง แต่ละเท้ามี ๔ นิ้วอยู่ในระดับเดียวกัน ยื่น
ไปข้างหน้า ๒ นิ้ว (นิ้วที่ ๒ และนิ้วที่ ๓) ยื่นไปข้างหลัง ๒ นิ้ว (นิ้วที่ ๑ และนิ้วที่ ๔) นิ้วเท้าใช้
เกาะยึดและปีนป่ายกิ่งไม้ได้ดีเหนือโคนปากมีแผ่นเนื้อนิ่มซึ่งมีรูจมูกเปิดออก ๒ รู ขนปกคลุม
ลำตัวค่อนข้างหยาบ ปีกกว้างและปลายปีกแหลม ขนปลายปีกมี ๑o เส้น หางยาว ขนหางมี ๑๒
เส้น ขนหางแต่ละคู่ยาวลดหลั่นกันลงไปมาก ขนหางคู่บนสุดยาวที่สุดและเรียว แต่ปลายทู่ แผ่น
เนื้อนิ่มโคนปากสีเทาอ่อน ม่านตาสีขาวออกเหลือง ขาและนิ้วเท้าสีเทาอ่อน ปากค่อนข้างใหญ่
และหางค่อนข้างสั้นกว่านกแก้วชนิดอื่นในสกุลเดียวกัน
ตัวผู้ลำตัวด้านบนสีเขียว ลำตัวด้านล่างมีสีเขียวอ่อนอมฟ้า ส่วนหัว แก้ม และใต้คางเป็น
สีเทาอมแดงจางๆ บริเวณอกสีชมพูแก้มส้ม หัวสีม่วงแกมเทาหน้าผากมีแถบสีดำคาดไปจรดตา
ทั้งสองข้าง และมีแถบสีดำลากจากโคนปากไปถึงแก้ม จงอยปากบนสีแดงสด ปลายปากสี
เหลืองจงอยปากบนงองุ้มตั้งแต่โคนปากจนถึงปลายปากและพองออกทางด้านข้างด้วย ปลายปากบนเป็นตะของุ้มแหลมคมแข็งแรงคลุมปลายปากล่าง ขอบล่างของจงอยปากบนประมาณ
กึ่งกลางปากมีลักษณะเป็นปุ่มใช้ในการกะเทาะเปลือกเมล็ดพืชทิ้งเพื่อกินเนื้อใน โดยท างาน
พร้อมกับลิ้นที่เป็นก้อนเนื้อหนาปากบนเคลื่อนไหวได้โดยอิสระมากและสามารถใช้ปากเกาะยึด
กิ่งไม้หรือวัตถุต่างๆ ได้อย่างกับเท้า จงอยปากล่างสีดำ จงอยปากสั้นและงุ้มปากล่างโค้งงอขึ้น
ไปหาปากบนแต่สั้นกว่าและปลายปากทู่ มีปีกสีเขียวและมีหย่อมสีเหลืองคาดอยู่ ขนหางคู่กลาง
ยาวเป็นสีฟ้าแต่ส่วนปลายเป็นสีเหลือง มีอกสีชมพู ท้องสีเขียวอมฟ้า ขาและนิ้วเท้าสีเขียว
ตัวเมีย ต่างจากตัวผู้ตรงที่หัวเป็นสีน้ าเงินแกมเทาแต่มีหัวสีเทามากกว่าตัวผู้ มีทางพาดสี
ด าทั้งสองแห่งเช่นเดียวกับตัวผู้ จงอยปากบนและล่างสีด าสนิท อกสีชมพูสด ไม่มีแต้มสีม่วง
นกตัวที่ไม่เต็มวัย ขนคลุมลำตัวส่วนใหญ่สีเขียว อก สีเขียว ปากสีดำ
พฤติกรรม การสืบพันธุ์
จะพบทั้งเป็นคู่และอยู่รวมกันเป็นฝูง เป็นนกที่มีกิจกรรมต่างๆในตอนกลางคืน ออกหา
กินในเวลากลางวัน นกแขกเต้ามีปากแบบงองุ้มเหมาะสมกับการกินอาหารพวกผลไม้ธัญพืช
และเมล็ดพืชโดยเฉพาะลูกไทร ลูกก่อ ข้าวและข้าวโพด แต่บางครั้งก็พากันลงกินดินโป่งด้วย
นับเป็นนกนักกระจายพันธุ์พืชที่สำคัญชนิดหนึ่งตามธรรมชาติบินได้ดีและเร็ว ชอบเกาะตามกิ่ง
ไม้ที่มีผลใช้เท้าจับผลไม้และใช้จงอยปากจกหรือขบให้ผลไม้แตกแล้วกินเนื้อข้างใน มีความสามารถในการเกาะกิ่งไม้ได้ทุกๆแนวแม้ว่าจะห้อยหัว ขณะบินมักส่งเสียงร้องไปด้วย มีเสียงดังกังวาน ชอบทำรังตามโพรงต้นไม้ต่างๆซึ่งเป็นโพรงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือโพรงที่
สัตว์อื่นท าทิ้งไว
สถานภาพทางกฏหมาย
เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2562 ที่อนุญาตให้เพาะพันธุ์ได
ถิ่นอาศัยและอาหาร
พบได้ในประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา หมู่เกาะอันดามันส์ จีนตอนใต้และ
เวียดนาม ในประเทศไทยพบได้ทั่วไปทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ที่พบน้อยมาก อาศัยอยู่ตามป่าโปร่ง
เช่นป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง ตั้งแต่พื้นราบไปจนถึงระดับความสูง ๑,๒oo เมตร จากระดับน้ำทะเลและตามพื้นที่เกษตรกรรม ที่มีต้นไม้ หรือป่าละเมาะอยู่ใกล้ๆ หรือ แหล่งปลูก
พืชไร่ ที่อยู่ชายป่าโปร่ง สวนผลไม้ ที่มีต้นไม้ผลสูงใหญ่อาจพบในป่าชายเลน หรือ ป่าริมชายฝั่งทะเล ด้วย
อาหารของแก้วแขกเต้าในธรรมชาติ ประกอบด้วย เมล็ดพืชต่าง ๆ ลูกไม้ป่า ผลไม้ ยอด
ไม้ ฯลฯ
ถ้าหากท่านใดที่สนใจเดินทางมาดูนกที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาแผงม้าดูรายละเอียดารเดินทาง คลิกที่นี่ เพื่อเปฺิดลิ้งค์
ขอขอบคุณข้อมูลจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
http://www.dnp.go.th/fca16/file/9pe4w6an5duvoxy.pdf
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น